ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล


1. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล  (Information   Processing  Theory)
ก.       ทฤษฎีการเรียนรู้
คลอสเมียร์  ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ดังนี้
  1. การรับข้อมูล
  2. การเข้ารหัส
  3. การส่งข้อมูลออก
คลอสไมเออร์  อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น  ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ คือ  การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า   เมื่อข้อมูลข้าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว  การเรียกออกมาใช้บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูลจากความจำระยะยาวนั้น
กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลข้างต้น  จะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว  ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ  “software”นั่นเอง

ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
  1. เนื่องจากการรู้จัก  (recognition) หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน  เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในความจำต่อไป
  2. เนื่องจากความใส่ใจ (attention) ควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้นและนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
  3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว  จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้น  หากต้องการจำสิ่งนั้นนานกว่านี้  ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย  เช่น  การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง
  4. หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานานสาระนั้นต้องได้รับการเข้ารหัส  วิธีการเข้ารหัส  เช่น  การท่องจำซ้ำๆการทบทวน
  5. ข้อมูลที่ถูกนำเก็บไว้ในความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว  สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน  “effector”ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ
  6. เนื่องจากกระบวนการต่างๆ  ของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่งซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงานซึ่งเป็น “software”ของเครื่องคอมพิวเตอร์  การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองทำการต่างๆได้