ทฤษฎีพหุปัญญา

2. ทฤษฎีพหุปัญญา  (Theory  Multiple  Intellgences)
ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้  ทิศนา แขมมณี (2554:หน้า85-89 )   
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ  การ์ดเนอร์  เชาวน์ปัญญา  8  ด้าน  ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์   มีดังนี้
1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า broca ‘s area ”
2. เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ    ชอบคิดวิเคราะห์  แยกแยะสิ่งต่างๆ  ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  ความสามารถด้านการวาดภาพ  การสร้างภาพ  ศิลปะ
4.เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี  ความสามารถในด้านจังหวะ  การร้องเพลง  การฟังเพลงและดนตรีการเต้น  การรับรู้จังหวะต่างๆ
5.เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ  ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  การเล่นกีฬา  และเกมต่างๆ
6.เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น  เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมด้วยสมองส่วนหน้า  เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  การทำงานกับผู้อื่น
7.เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง  ชอบที่จะคิดคนเดียว  ชอบความเงียบสงบ 
8.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ  มักเป็นผู้รักธรรมชาติ  เข้าใจธรรมชาติ  ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1.  เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน  ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน  จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน
2.  จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง  ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  สอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน
4. การประเมินควรมีหลายๆด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญญาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี . 2554 .ศาสตร์การสอน(องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี    ประสิทธิภาพ).กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย