ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Collaborative Learning)
- ทฤษฎีการเรียนรู้   ทิศนา แขมมณี (2554:หน้า98-106 )   

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้คือ สลาวิน, เดวิท  จอห์นสัน, และโรเจอร์ จอห์นสัน กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ มีผลวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของตนเองต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียนครูและเพื่อนร่วมชั้นมีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสันและจอห์นสันกล่าวว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกันในการเรียนรู้
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ 5 ประการดังนี้
1.1     การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน คือแต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนและในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
1.2     การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย
1.3      ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน กลุ่มจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่
1.4     การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญๆ หลายประการซึ่งครูควรสอนและฝึกให้แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ดำเนินงานไปได้
1.5     การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
2. ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2.1 มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีผลงานมากขึ้น
2.2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น การเรียนรุ้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจในผู้อื่นมากขึ้นเห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
2.3 มีสุขภาพจิตดี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีความรู้สึกที่เกี่ยวกับตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.1 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์  วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
3.2 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มประเภทนี้จัดขึ้นเฉพาะกิจชั่วคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่นๆ
3.3 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร กลุ่มประเภทนี้เป้นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้ร่วมกันจนเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
- การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ครูสามารถนำหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไปจัดการเรียนการสอนของตนได้ โดยการพยายามจัดกลุ่มการเรียนรู้ให้มีองค์ประกอบครบ 5 ประการ การวางแผนบทเรียนและจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
1.1 กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ
1.2 กำหนดขนาดของกลุ่ม
1.3 กำหนดองค์ประกอบของกลุ่มหมายถึงการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่ม ซึ่งอาจทำได้โดยการสุ่ม
1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
1.5 จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงาน
1.6 จัดสาระ วัสดุหรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/ งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ด้านการสอน
ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันดังนี้
2.1 อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
2.2 อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.3 อธิบายถึงความสำคัญ และวิธีการสอนของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2.4 อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
2.5 อธิบายอธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
2.6 ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง


3. ด้านการควบคุมกำกับ
3.1 ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการดูแลกันอย่างใกล้ชิด
3.2 สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ว่าสมาชิกกลุ่มมีความเข้าใจในงานหรือบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่
3.3 เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
3.4 สรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
4.1 ประเมินผลการเรียนรู้
4.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรุ้ร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี . 2554 .ศาสตร์การสอน(องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี    ประสิทธิภาพ).กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย