วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

บทที่ 5 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย
1. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล  (Information   Processing  Theory)
ก.       ทฤษฎีการเรียนรู้
 ทิศนา แขมมณี (2554:หน้า79-84 )   คลอสเมียร์  ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ดังนี้
  1. การรับข้อมูล
  2. การเข้ารหัส
  3. การส่งข้อมูลออก
คลอสไมเออร์  อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น  ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ คือ  การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า   เมื่อข้อมูลข้าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว  การเรียกออกมาใช้บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูลจากความจำระยะยาวนั้น
กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลข้างต้น  จะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว  ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ  “software”นั่นเอง

ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
  1. เนื่องจากการรู้จัก  (recognition) หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน  เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในความจำต่อไป
  2. เนื่องจากความใส่ใจ (attention) ควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้นและนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
  3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว  จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้น  หากต้องการจำสิ่งนั้นนานกว่านี้  ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย  เช่น  การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง
  4. หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานานสาระนั้นต้องได้รับการเข้ารหัส  วิธีการเข้ารหัส  เช่น  การท่องจำซ้ำๆการทบทวน
  5. ข้อมูลที่ถูกนำเก็บไว้ในความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว  สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน  “effector”ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ
  6. เนื่องจากกระบวนการต่างๆ  ของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่งซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงานซึ่งเป็น “software”ของเครื่องคอมพิวเตอร์  การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองทำการต่างๆได้


2. ทฤษฎีพหุปัญญา  (Theory  Multiple  Intellgences)
ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ  การ์ดเนอร์  เชาวน์ปัญญา  8  ด้าน  ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์   มีดังนี้
1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า broca ‘s area ”
2. เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ    ชอบคิดวิเคราะห์  แยกแยะสิ่งต่างๆ  ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  ความสามารถด้านการวาดภาพ  การสร้างภาพ  ศิลปะ
4.เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี  ความสามารถในด้านจังหวะ  การร้องเพลง  การฟังเพลงและดนตรีการเต้น  การรับรู้จังหวะต่างๆ
5.เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ  ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  การเล่นกีฬา  และเกมต่างๆ
6.เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น  เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมด้วยสมองส่วนหน้า  เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  การทำงานกับผู้อื่น
7.เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง  ชอบที่จะคิดคนเดียว  ชอบความเงียบสงบ 
8.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ  มักเป็นผู้รักธรรมชาติ  เข้าใจธรรมชาติ  ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1.  เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน  ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน  จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน
2.  จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง  ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  สอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน
4. การประเมินควรมีหลายๆด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญญาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ


3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วนตนเอง  (Constructivism)
ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า  พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา    ส่วนวีก็อทกี้  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก   นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้   มีความเห็นว่า  โลกนี้จะมีอยู่จริง  และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง  แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น  มิได้มีอยู่ในตัวของมัน  สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น  และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน  แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย

ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1. ตามทฤษฎีการสร้างความรู้   ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
2.  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
3.  ผู้เรียนจะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนอย่างตื่นตัว   ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระบวนกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
4.  ครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม- จริยธรรม  ให้เกิดขึ้น  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  การร่วมมือ  และการแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  และบุคคลอื่นๆ
5.  ในการเรียนการสอน  ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่  โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
6.  การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก  “instruction” ไปเป็น  “construction”คือ เปลี่ยนจาก การให้ความรู้ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้”  บทบาทของครูก็คือ  จะต้องทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน
7.  ในด้านการประเมินผลการเรียนการสอน  ประเมินตามจุดมุ่งหมายในลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคลและการประเมินควรใช้วิธีที่หลากหลาย


4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์  ซีมัวร์     เพเพอร์ท แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียนหากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
-          การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
ทฤษฎีนี้จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และผลงานต่างๆด้วยตนเอง สำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อ เพเพอร์กล่าวว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากนำไปใช้ในการสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน เช่น กระดาษ ดินเหนียว ไม้  โลหะ พลาสติก สบู่และของเหลือใช้ต่างๆ และปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ
1.เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย คือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจเน้นการเป็นเอกตบุคคล
2. เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้
3. เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ  และเอื้อให้ผู้เรียนได้เป็นไปอย่างมีความสุข และครูก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการคอยให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนและคอยอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับผู้เรียน


5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Collaborative Learning)
- ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้คือ สลาวิน, เดวิท  จอห์นสัน, และโรเจอร์ จอห์นสัน กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ มีผลวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของตนเองต่อผู้เรียน ต่อโรงเรียนครูและเพื่อนร่วมชั้นมีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสันและจอห์นสันกล่าวว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกันในการเรียนรู้
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ 5 ประการดังนี้
1.1     การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน คือแต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนและในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
1.2     การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย
1.3      ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน กลุ่มจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่
1.4     การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญๆ หลายประการซึ่งครูควรสอนและฝึกให้แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ดำเนินงานไปได้
1.5     การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
2. ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2.1 มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีผลงานมากขึ้น
2.2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น การเรียนรุ้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจในผู้อื่นมากขึ้นเห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
2.3 มีสุขภาพจิตดี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีความรู้สึกที่เกี่ยวกับตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.1 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์  วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
3.2 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มประเภทนี้จัดขึ้นเฉพาะกิจชั่วคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่นๆ
3.3 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร กลุ่มประเภทนี้เป้นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้ร่วมกันจนเกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
- การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ครูสามารถนำหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไปจัดการเรียนการสอนของตนได้ โดยการพยายามจัดกลุ่มการเรียนรู้ให้มีองค์ประกอบครบ 5 ประการ การวางแผนบทเรียนและจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
1.1 กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ
1.2 กำหนดขนาดของกลุ่ม
1.3 กำหนดองค์ประกอบของกลุ่มหมายถึงการจัดผู้เรียนเข้ากลุ่ม ซึ่งอาจทำได้โดยการสุ่ม
1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
1.5 จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงาน
1.6 จัดสาระ วัสดุหรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/ งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ด้านการสอน
ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันดังนี้
2.1 อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
2.2 อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.3 อธิบายถึงความสำคัญ และวิธีการสอนของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2.4 อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
2.5 อธิบายอธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
2.6 ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง


3. ด้านการควบคุมกำกับ
3.1 ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการดูแลกันอย่างใกล้ชิด
3.2 สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ว่าสมาชิกกลุ่มมีความเข้าใจในงานหรือบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่
3.3 เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
3.4 สรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
4.1 ประเมินผลการเรียนรู้
4.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรุ้ร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี . 2554 .ศาสตร์การสอน(องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี    ประสิทธิภาพ).กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย